IMPELLRES CALCULATION


Home

>

Impellers

>

IMPELLRES CALCULATION

1843 views

IMPELLRES CALCULATION

IMPELLRES CALCULATION

มาตรฐานการออกแบบ Agitator และ ข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ Agitator ของบริษัทฯ

เพื่อสร้างมาตรฐานการออกแบบเครื่องกวน, เครื่องผสม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ้างอิงตามหลักวิศวกรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนการออกแบบที่ถูกต้อง และ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี Agitator Calculation Data เพื่อเป็นสิ่งที่ยืนยันในทางหนึ่งว่า บริษัทฯ ผู้ออกแบบ Agitator นั้นมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานด้านวิศวกรรมเป็นอย่างดี อีกนัยยะหนึ่งลูกค้าสามารถนำเอา Agitator Calculation Data มาตรวจสอบได้เช่นกัน บริษัทฯ มีมาตรฐานของ ขั้นตอนในการออกแบบ Agitator ดังแสดงในรายละเอียดข้างล่างนี้

[1]. Liquid Level and Volume Calculation
การออกแบบรูปทรงถังสำหรับการผสมเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลต่อรูปแบบการไหลของของเหลวภายในถัง, ลักษณะก้นถังที่ดีมีผลต่อการผสมเช่นกัน ก้นถังลักษณะ Slope จะทำให้การไหลมีลักษณะเป็นคลื่น, ก้นถังลักษณะก้นกรวย ให้การไหลที่ดีแต่จะมีการแตกแรงในแกน X,Y ก้นถังลักษณะก้นโค้งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด เป็นต้น สัดส่วนของถังที่ดีต่อการผสมควรมี Ratio D/H = 0.8 การคำนวณ Liquid Level และ ส่วนเผื่อกรณี Full Volume ส่งผลต่อการกำหนด Tip Speed Design ด้วยเช่นกัน

[2]. Impeller Selection การเลือกชนิดของใบกวน (Impeller Type)
เลือกตามกระบวนการผสม ชนิดของการผสม และ ค่าความหนืดของของเหลวสูงสุด (Maximum Viscosity) ก่อนเลือกชนิดของใบกวนเราต้องทราบอย่างชัดเจนว่ากระบวนการผสมต้องการอะไร เช่น Liquid-Liquid Mixing / Solid-Liquid Mixing (Solution) / Emulsion เป็นต้น หลังจากเลือกชนิดของใบกวนที่ถูกต้องกับกระบวนการแล้ว ต้องใช้ Maximum Viscosity ในการกำหนดสัดส่วนสำคัญ d/D เพื่อใช้ในการคำนวณ Tip Speed (m/sec) ต่อไป, การกำหนดสัดส่วน d/D ต้องอาศัยประสบการณ์การทำงานด้านการออกแบบเครื่องกวนที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ

[3]. Tip Speed Calculation Tip Speed Calculation
เป็นการคำนวณขั้นพื้นฐานที่ผู้ออกแบบต้องทราบ การคำนวณ Tip Speed เป็นการคำนวณกึ่งออกแบบ เนื่องจากเราต้องกำหนดค่า Tip Speed พื้นฐานก่อนการคำนวณเสมอ เช่น กระบวนการ Liquid-Liquid Mixing @Max.Viscosity 10,000 mPa.sec กำหนดสัดส่วนสำคัญ d/D = 0.53 กำหนด Tip Speed = 3.7 m/sec สำหรับถังขนาด 15,000L ที่สัดส่วนถัง D/H = 0.85 โดยใช้ใบกวนแบบ 3-Blades High Efficiency Impeller จำนวน 1 ชั้นใบ จากนั้นก็คำนวณ Tip Speed เพื่อหาความเร็วรบใช้งาน (RPM)

[4]. Power Absorb Calculation Power Absorb Calculation
เป็นภาคการคำนวณซึ่งนักออกแบบสามารถใช้การคำนวณด้วยสูตรอย่างง่าย(อาจจะมีข้อผิดพลาดสูง) หรือ อาจจะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคำนวณก็จะให้ความแม่ยำมากยิ่งขึ้นไป (บริษัทฯ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคำนวณ) Power Absorb(kW) มีความสำคัญในแง่การเลือกขนาดของต้นกำลังที่เหมาะสมและไม่ให้เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ หรือ ใช้พลังงานน้อยกว่าที่กระบวนการต้องการ ทางบริษัทฯ จะมีการคำนวณเผื่อ SF of Power ไว้ที่ 85% ของ Power Absorb

[5]. Shaft Calculation
การออกแบบ และ คำนวณแกนเพลาของใบกวน มีความสำคัญในเชิง Mechanic, ส่วนสำคัญที่สุดคือ ขนาดของแกนเพลาต้องมีความแข็งแรงเพียงพอ (ความแข็งแรงต่อหน่วยความยาว) ที่จะรับแรงต่างๆที่เกิดขึ้นจากการหมุน, เกิดจากแรงส่งถ่ายจากใบกวน เช่น Bending Moment/Bending Torsion/Critical Speed เป็นต้น บริษัทฯ มี Calculation Data ให้ลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าต้องการ Re-Check Calculation ในการออกแบบเพลายังมีส่วนอื่นที่สำคัญอีก เช่น การกำหนดระยะห่างการรับแรงของ Bearing, การออกแบบ Coupling ของเพลา Upper / Lower, การกำหนด Middle/Bottom Bush เป็นต้น

[6]. Hydraulic Data Calculation
เป็นการคำนวณขั้นสุดท้ายของการออกแบบเครื่องกวน เพื่อแสดงค่าต่างๆที่มีผลสำคัญยิ่งต่อกระบวนการผสม เช่น Reynolds Number / Power Number / Pumping Capacity เป็นต้น ค่าจากการคำนวณต่างๆเหล่านี้ บริษัทฯมี Calculation Data ให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการทราบค่าเพื่อนำไปตรวจสอบกับกระบวนการผสมว่าเพียงพอหรือไม่อย่างไร การคำนวณดังกล่าวนั้นมีผลมาจากการออกแบบและการกำหนดค่าต่างๆดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผลการคำนวณที่ได้จะสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่นั้น ขึ้นกับการออกแบบเป็นลำดับขั้นลงมา

สถาพร เลี้ยงศิริกูล/MISCIBLE




Blogs